เมนู

ลมพัด จะเรียบราบอยู่ (ไม่มีคลื่น) ฉันใด แม้ภิกษุนี้ผู้มีกิเลสสงบแล้ว
เว้นจากความหวั่นไหว เพราะกิเลสจะสงบอยู่ด้วยสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล
ในที่ทุกแห่ง คือ จะเป็นผู้มีสภาพสงบทีเดียวตลอดกาลทุกเมื่อ. บทว่า อเนโช
ความว่า ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ มีสภาพไม่หวั่นไหวเป็นต้น โดยโอกาส
ถึงจะอยู่ไกลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีสภาพไม่หวั่นไหว ก็เหมือนกับอยู่ไม่ไกล
คือในสำนักนั่งเอง ตามสภาวธรรม ดังนี้.
จบอรรถกถาสังฆาฏิสูตรที่ 3

4. อัคคิสูตร


ว่าด้วยไฟ 3 กอง


[273] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ 3 กองนี้ 3 กองเป็นไฉน ? คือ
ไฟคือราคะ 1 ไฟคือโทสะ 1 ไฟคือโมหะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ 3
กองนี้แล.
ไฟคือราคะ ย่อมเผาสัตว์ผู้กำหนัด
แล้วหมกมุ่นแล้วในกามทั้งหลาย ส่วนไฟ
คือโทสะ ย่อมเผานรชนผู้พยาบาท มี
ปกติฆ่าสัตว์ ส่วนไฟคือโมหะ ย่อมเผา
นรชนผู้ลุ่มหลง ไม่ฉลาดในอริยธรรม
ไฟ 3 กองนี้ย่อมตามเผาหมู่สัตว์ผู้ไม่รู้สึก
ว่าเป็นไฟ ผู้ยินดียิ่งในกายตน ทั้งในภพนี้
และภพหน้า สัตว์เหล่านั้นย่อมเพิ่มพูน

นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอสุรกายและ
ปิตติวิสัย เป็นผู้ไม่พ้นไปจากเครื่องผูก
แห่งมาร.
ส่วนสัตว์เหล่าใดประกอบความเพียร
ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทั้งกลางคืนกลางวัน สัตว์เหล่านั้นผู้มี
ความสำคัญอารมณ์ว่า ไม่งามอยู่เป็นนิจ
ย่อมดับไฟ คือ ราคะได้ ส่วนสัตว์ทั้งหลาย
ผู้สูงสุดในนรชน ย่อมดับไฟคือโทสะได้
ด้วยเมตตา และดับไฟคือโมหะได้ด้วย
ปัญญาอันเป็นเครื่องให้ถึงความชำแรก
กิเลส สัตว์เหล่านั้นมีปัญญาเป็นเครื่อง
รักษาตน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลาง-
วัน ดับไฟมีไฟคือราคะเป็นต้นได้ ย่อม
ปรินิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ ล่วงทุกข์
ได้ไม่มีส่วนเหลือ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็น
อริยสัจผู้ถึงที่สุดแห่งเวท รู้แล้วโดยชอบ
ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ซึ่งความสิ้นไป
แห่งชาติ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่.

จบอัคคิสูตรที่ 4

อรรถกถาอัคคิสูตร


ในอัคคิสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้ :-
ชื่อว่าไฟ เพราะความหมายว่า ลวกลน. ไฟคือราคะ ชื่อว่า
ราคัคคิ. เพราะว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้นจะลวกลนคือไหม้สัตว์ทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อัคคิ. ในโทสะ และโมหะ 2 อย่างนอกจากนี้ ก็มี
นัยนี้เหมือนกัน.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราคคฺคิ เป็นต้นต่อไป. ไฟติดขึ้นเพราะ
อาศัยเชื้ออันใด ก็จะไหม้เชื้อนั้น (ลุกฮือ) เร่าร้อนมากทีเดียว ฉันใด ราคะ
เป็นต้น แม้เหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นเองในสันดานใด ก็จะเผาลน
สันดานนั้นให้กลัดกลุ้มมากขึ้น เป็นสิ่งที่ดับได้ยาก. บรรดาสัตว์ที่ถูกราคะ
เป็นต้นเผาลนเหล่านั้น เหล่าสัตว์ที่ถูกความกลัดกลุ้มเผาลนหทัย ประสบ
ความตายเพราะความทุกข์ คือไม่ได้สิ่งที่ต้องการ (ไม่สมหวัง) หาประมาณ
มิได้. นี้เป็นการเผาลนของราคะก่อน. แต่โดยพิเศษแล้ว ได้แก่เทพเจ้าเหล่า
มโนปโทสิกา (จุติเพราะทำร้ายใจ) เพราะการเผาลนของโทสะ. เทพเจ้าเหล่า
ขิฑฑาปโทสิกา (จุติเพราะเพลิดเพลินกับการเล่น) เป็นตัวอย่าง เพราะ
การเผาลนของโมหะ. เพราะว่า ความเผลอสติของเทพเจ้าเหล่านั้นมีได้ ด้วย
อำนาจโมหะ เพราฉะนั้น เทพเจ้าเหล่านั้น เมื่อปล่อยเวลารับประทานอาหาร
ให้ล่วงเลยไป ด้วยอำนาจการเล่นจนทำกาละ นี้ คือการเผาลนแห่งราคะเป็นต้น
ที่มีผลทันตาเห็นก่อน. แต่ที่มีผลในสัมปรายิกภพซึ่งร้ายแรงกว่า และยับยั้ง
ได้ยาก มีขึ้นด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นในนรกเป็นต้น. และอรรถาธิบายนี้
ควรขยายให้แจ่มชัด ตามอาทิตตปริยายสูตร.